Skip to content
Greener Bangkok
เมนู
กลับสู่หน้าขยะและรีไซเคิล

คู่มือการทิ้งขยะสำหรับ
งานเทศกาลหรือกิจกรรม

เพื่อให้งานเทศกาลประสบความสำเร็จและได้รับคำชมในทุกๆ ด้าน ผู้จัดควรจัดการขยะให้ดี
ร่วมกันกิน ร่วมกันใช้แบบรักษ์โลกเพื่อส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

แนวทาง

ก่อนงาน

ผู้จัด
  • เลือกสถานที่สะดวกต่อการเดินทางโดยรถสาธารณะ:  ช่วยลดมลพิษทางอากาศและลดปริมาณขยะจากการจอดรถ
  • รณรงค์ให้ร้านค้าใช้บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้:  ช่วยลดปริมาณขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไป
  • ประชาสัมพันธ์ออนไลน์:  ช่วยลดการใช้กระดาษและสร้างการรับรู้
  • จัดเตรียมจุดบริการน้ำดื่ม: ช่วยลดขยะจากขวดน้ำพลาสติก
  • ประเมินปริมาณขยะ: ช่วยให้เตรียมถังขยะและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม
  • วางผังจุดทิ้งขยะ: แยกประเภท 4 ประเภท
ร้านค้า
  • เตรียมภาชนะใช้ซ้ำ:  ช่วยลดขยะจากภาชนะใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • ถังคัดแยกขยะ 4 ประเภท:  ช่วยให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระหว่างงาน

ผู้จัด
  • ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ: ช่วยให้ผู้เข้าร่วมงานทราบวิธีทิ้งขยะ
  • จัดจุดทิ้งขยะแยกประเภท 4 ประเภท: ช่วยให้คัดแยกขยะได้ง่าย
  • จัดเจ้าหน้าที่ดูแล: ช่วยให้การทิ้งขยะเป็นระเบียบ
ร้านค้า
  • ใช้ภาชนะใช้ซ้ำ: ช่วยลดขยะจากภาชนะใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • คัดแยกขยะ 4 ประเภท: ช่วยให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ร่วมงาน
  • เดินทางโดยรถสาธารณะ: ช่วยลดมลพิษทางอากาศและลดปริมาณขยะจากการจอดรถ
  • นำขวดน้ำ/แก้วน้ำ/ถุงผ้า/ภาชนะส่วนตัวมาใช้: ช่วยลดขยะ
  • คัดแยกขยะ 4 ประเภท: ช่วยให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลังงาน

ผู้จัด
  • เก็บข้อมูลปริมาณขยะ: ช่วยให้ประเมินผลและปรับปรุงในงานครั้งต่อไป
  • เก็บขนและขนส่งขยะ: ช่วยให้จัดการขยะอย่างถูกวิธี
  • ดูแลสถานที่: ช่วยรักษาความสะอาด
  • รวบรวมปัญหา: ช่วยให้เรียนรู้และแก้ไข
  • ประชาสัมพันธ์ผลลัพธ์: ช่วยสร้างการตระหนักรู้
ร้านค้า
  • เก็บขยะ: ช่วยรักษาความสะอาด
  • ทำความสะอาดพื้นที่: ช่วยคืนพื้นที่ให้กับสถานที่จัดงาน

ขยะแต่ละประเภท
ควรทิ้งอย่างไร

ขยะเศษอาหาร

วิธีทิ้ง

  1. เทน้ำ กรองเฉพาะเศษอาหาร
  2. นำไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำน้ำหมักชีวิภาพ ปุ๋ยหมักหรือเป็นอาหารสัตว์
  3. ใส่ถุงเขียว หรือถุงที่มองเห็นขยะด้านใน มัดปากถุง แล้วใส่ถัง
  4. รอการจัดเก็บตามที่สำนักงานเขตกำหนด

ขยะรีไซเคิล

วิธีทิ้ง

  1. เทของเหลวหรือเศษอาหาร (ถ้ามี)
  2. รวบรวมใส่ถุงใส หรือ ถุงที่มองเห็นขยะด้านใน
  3. มัดปากถุงหากใส่ถุงดำให้เขียนข้อความหรือติดป้ายหรือสัญลักษณ์ที่ระบุว่าเป็น “ขยะรีไซเคิล”
  4. นำไปขายหรือบริจาคหรือรอการจัดเก็บตามที่สำนักงานเขตกำหนด

ขยะอันตราย

วิธีทิ้ง

  1. รวบรวมใส่ถุงใสหรือถุงที่มองเห็นขยะด้านใน
  2. หากใส่ถุงดำให้เขียนข้อความหรือติดป้ายหรือสัญลักษณ์ที่ระบุว่าเป็น ขยะอันตราย
  3. ทิ้งตามจุดที่กำหนดหรือรอการจัดเก็บตามที่สำนักงานเขตกำหนด

ขยะทั่วไป

วิธีทิ้ง

  1. รวบรวมใส่ ถุงใส หรือ ถุงที่มองเห็นขยะด้านใน มัดปากถุง
  2. รอการจัดเก็บตามที่สำนักงานเขตกำหนด

โปสเตอร์ฮาวทูทิ้ง

วิธีการแยกขยะ ในกรุงเทพมหานคร

3 แนวทางง่ายๆ

แนวคิด 3R ช่วยให้เราใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดปริมาณขยะ

1. Reduce ลดการใช้ การบริโภคที่ไม่จำเป็น

  • เลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ หรือรีไซเคิลได้ แทนวัสดุสิ้นเปลือง
  • ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดเล็กลง
  • จำกัดการแจกของพรีเมียมที่ไม่จำเป็น
  • ส่งเสริมการใช้ภาชนะส่วนตัว
  • ตั้งจุดเติมน้ำดื่ม
  • สนับสนุนการใช้แผ่นพับและข้อมูลดิจิทัล

2. Reuse นำกลับมาใช้ซ้ำ

  • เช่าหรือยืมอุปกรณ์แทนการซื้อใหม่
  • นำภาชนะที่ใช้ซ้ำได้มาใช้ในงาน เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม
  • สนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมงานนำถุงผ้าและภาชนะส่วนตัวมาเอง
  • เก็บรวบรวมและนำวัสดุจากงานเก่ามาใช้ใหม่

3. Recycle นำกลับมาใช้ใหม่

  • แยกประเภทขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดทำป้ายและคำแนะนำสำหรับการคัดแยกขยะที่ชัดเจน
  • ทำงานร่วมกับบริษัทจัดการขยะที่เชี่ยวชาญด้านรีไซเคิล
  • compost เศษอาหารและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

วิธีการทิ้งขยะ
สำหรับตลาด

วิธีการทิ้งขยะ
สำหรับชุมชน

วิธีการทิ้งขยะ
บ้านและคอนโด

แนวทางในการคัดแยกและทิ้งขยะอย่างถูกต้องสำหรับผู้พักอาศัยในบ้านและคอนโด

คุณชอบเนื้อหาหน้านี้ไหม?
ชอบไม่ชอบ