Skip to content
Greener Bangkok
เมนู
กลับสู่หน้าฝุ่น PM2.5

คู่มือการดูแลตัวเอง
จากฝุ่น PM 2.5

เพราะปัญหาฝุ่น PM2.5 ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป โดยเฉพาะเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ
ที่มีประชากรหนาแน่นและการจราจรคับคั่ง เราจึงควรหันมาดูแลปกป้องตัวเองเบื้องต้นเพื่อ
สุขภาพที่ดีของตัวเรา มาดูวิธีรับมือกันเลย!

“คุณภาพอากาศ”
วัดกันอย่างไร?

การวัดระดับคุณภาพอากาศจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยใช้ค่า PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไป หน่วยเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม) เทียบกับค่าเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ละระดับใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ดังนี้

How to รับมือฝุ่น PM2.5

เรามีคำแนะนำในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5

ประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง
เด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ,
หญิงตั้งครรภ์, และผู้มีโรคประจำตัว

คุณภาพอากาศดีมาก

ทำกิจกรรมตามแจ้งได้ตามปกติ

ทำกิจกรรมตามแจ้งได้ตามปกติ

คุณภาพอากาศดี

ทำกิจกรรมตามแจ้งได้ตามปกติ

  • หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย คลื่นไส้วิงเวียนศรีษะหรืออาการระดับรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์

คุณภาพอากาศปานกลาง

  • หลีกเลี่ยงทำกิจกรรม หรือ ออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย คลื่นไส้ วิงเวียนศรีษะ หรืออาการระดับ รุนแรงให้รีบไปพบแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ให้สวมหน้ากากป้องกัน PM2.5
  • ผู้มีโรคประจำตัวควรเฝ้าระวังอาการผิดปกติหากมีอาการ ผิดปกติ เช่น ไอบ่อย คลื่นไส้ วิงเวียนศรีษะ หรืออาการ ระดับรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์

คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 

  • ลดหรือจำกัดการทำกิจกรรมนอกบ้านและออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • สวมหน้ากากป้องกัน PM2.5 เมื่อจำเป็นต้อง ออกนอกบ้าน ออกกำลังกายใน ที่ไม่มีฝุ่นละออง
  • เฝ้าระวังหรือสังเกตอาการผิดปกติ หากมี อาการไอบ่อย คลื่นไส้ วิงเวียน ศรีษะหรือ อาการระดับรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์
  • ลดหรืองดการทำกิจกรรมนอกบ้าน หากจำเป็นต้อง สวมหน้ากากป้องกัน PM2.5
  • งดออกกำลังกลางแจ้ง เปลี่ยนมาเล่นในที่ไม่มีฝุ่นละออง หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย คลื่นไส้ วิงเวียนศรีษะหรืออาการระดับรุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์
  • ผู้มีโรคประจำตัวควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็น

คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ

  • งดออกนอกบ้านและทำกิจกรรมกลางแจ้ง
  • อยู่ในบ้าน สวมหน้ากากป้องกันPM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย คลื่นไส้ วิงเวียนศรีษะหรืออาการระดับรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์
  • ผู้มีโรคประจำตัวควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างน้อย 5 วัน
  • ลดหรืองดการทำกิจกรรมนอกบ้าน หากจำเป็นต้อง สวมหน้ากากป้องกัน PM2.5
  • งดออกกำลังกลางแจ้ง เปลี่ยนมาเล่นในที่ไม่มีฝุ่นละออง
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย คลื่นไส้ วิงเวียนศรีษะหรืออาการระดับรุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์

ข้อมูลจากคู่มือฉบับประชาชน การเฝ้าระวัง PM 2.5 อย่างไรให้ปลอดภัย (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)

วิธีประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ

คุณสามารถประเมินสุขภาพตนเองว่ามีความเสี่ยงจากการผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 มากน้อยแค่ไหนได้จากแบบทดสอบนี้

คุณมีอาการใดบ้าง

เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ
ดูผลการประเมิน
คุณมีระดับความเสี่ยง
ระดับรุนแรง

อาการของคุณคือ แน่นอนหน้าอก หายใจไม่ออก และ เจ็บหน้าอก ซึ่งมีระดับความเสี่ยงขั้นรุนแรง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ได้ที่ คลินิกมลพิษทางอากาศ

กลับ
คุณมีระดับความเสี่ยง
ระดับปานกลาง

อาการของคุณคือ ผื่นที่ผิวหนัง หรือ ระคายเคืองตา ซึ่งเป็นอยู่ในระดับความเสี่ยงระดับปานกลาง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ได้ที่ คลินิกมลพิษทางอากาศ หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

กลับ
คุณมีระดับความเสี่ยง
ระดับเล็กน้อย

อาการของคุณคือ ผื่นที่ผิวหนัง หรือ ระคายเคืองตา ซึ่งเป็นอยู่ในระดับความเสี่ยงเล็กน้อย ควรสังเกตความผิด ปกติต่อไปหากมีอาการแย่ลงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ได้ที่ คลินิกมลพิษทางอากาศหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

กลับ

ออกกำลังกายอย่างไร ปลอดภัยจาก PM2.5

การออกกำลังกายเป็นช่วงที่ปอดและหัวใจทำงานหนักขึ้นถือเป็นกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการรับ PM2.5 เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องออกแรงมาก เช่น ปีนเขา วิ่ง ปั่นจักรยาน ฟุตบอล เทนนิส เป็นต้น ดังนั้น ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศในแอปพลิเคชัน AirBKK และ Air4Thai ก่อนไปออกกำลังกาย
  • ไม่ใส่หน้ากาก N95 ขณะออกกำลังกายโดยเด็ดขาด
  • ออกกำลังในสวนสาธารณให้ต้นไม้ช่วยกรองฝุ่น
  • ลดระยะเวลาหรือหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในพื้นที่มีฝุ่นระดับสีส้ม-แดงหรือในช่วงเช้า
  • งดออกกำลังกายกลางแจ้งเมื่อ PM2.5 อยู่ในระดับสีแดง

จัดบ้านรับมือฝุ่น
อย่างไรให้ปลอดภัย

นอกจากการดูแลตัวเองนอกบ้านจาก PM2.5 แล้ว
การเตรียมความพร้อมในบ้านก็เป็นสิ่งที่เราควรทำด้วย
เช่นกัน ง่ายๆ ด้วย 3 วิธีหลัก ดังนี้

  • จัดบ้านตามหลัก 3ส.1ล. 
    • ส.สะสาง กำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมฝุ่น 
    • ส.สะอาด หมั่นเช็ดล้างทำความสะอาดบ้านและอุปกรณ์ สม่ำเสมอ
    • ส.สร้าง สร้างสิ่งแวดล้อมช่วยลดฝุ่น เช่น ปลูกต้นไม้
    • ล.เลี่ยง เลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น เช่น เผาขยะ
  • ทำห้องปลอดฝุ่น เพื่อช่วยลดการสัมผัสฝุ่น ในช่วงอากาศอยู่ในระดับสีส้มและสีแดง โดยป้องกันฝุ่นไม่ให้เข้าห้อง และไม่ทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นในห้อง สามารถทำได้ทั้งที่บ้านและอาคารสาธารณะ
    • เลือกห้องห่างฝุ่น ประตู-หน้าต่างมิดชิด 
    • ทำความสะอาด เอาของที่เก็บฝุ่นออก
    • เปิดพัดลม/แอร์ หมุนเวียนอากาศ
    • ปิดช่องโหว่ รอยรั่ว มิดชิด
    • เปิดหน้าต่างตอนฝุ่นน้อย ระบายอากาศ
    • ปิดประตู-หน้าต่างให้สนิท
    • งดกิจกรรมเพิ่มฝุ่น เช่น จุดธูป
    • ทำความสะอาดห้องทุกวัน ใช้ผ้าชุบน้ำแทนกวาด
  • ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศช่วยลดฝุ่น 

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

คู่มือการดูแลตัวเอง
จากฝุ่น PM 2.5

ดูแลตัวเองและคนที่คุณรัก จากฝุ่น PM 2.5

คลินิกมลพิษ
ทางอากาศ

บริการด้านสุขภาพ
เกี่ยวกับมลพิษอากาศ

รับมือฝุ่นแบบ
เรียลไทม์ผ่าน
LINE Alert

การแจ้งเตือนเมื่อค่าฝุ่น
PM 2.5 เกินมาตรฐาน

คุณชอบเนื้อหาหน้านี้ไหม?
ชอบไม่ชอบ