ที่มาของโครงการ
กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ในปี 2561 กรุงเทพฯ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 43.71 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนโยบาย BMA Net Zero มุ่งแก้ไขปัญหานี้โดยเริ่มจากภายในองค์กรของกรุงเทพมหานคร
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เสียหายกว่า
16.85
ล้านล้านบาท
กรุงเทพฯ จะได้รับความเสียหายกว่า 16.85 ล้านล้านบาท จากภัย พิบัติน้ำท่วม
คุณภาพ
น้ำประปาลดลง
ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้คุณภาพ น้ำประปาลดลง
อุณหภูมิเฉลี่ย
สูงถึง
36°C
คลื่นความร้อนจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 36°C ปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 28-30 องศาเซลเซียส (กรมอุตุนิยมวิทยา)
แนวทางการดำเนินงาน
แนวทางหลักของนโยบาย BMA Net Zero ประกอบด้วย 3 ประการ
- การคำนวณ (Calculate): คำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ กทม. ปล่อยออกมา
- การลด (Reduce): ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของ กทม.
- การชดเชย (Offset): ชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่เหลืออยู่
BMA เล่าโครงการ เข้าใจง่ายแค่ 3 นาที
ความคืบหน้า
1. การคำนวณ (Calculate)
- ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉลี่ยปี 2561 - 2565 (ปีฐาน) อยู่ที่ 240,000 tCO2e
-
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสำนักงานเขตนำร่อง 3 เขตในปี 2566:
- เขตบางขุนเทียน: 68,549 tCO2e
- เขตดินแดง: 47,609 tCO2e
- เขตประเวศ: 34,300 tCO2e
2. การลด (Reduce)
- โครงการ City to City ความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร กับเมือง โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก 1 ล้าน tCO2e ในปี 2567
-
ติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์:
- ลดก๊าซเรือนกระจก 24,000 tCO2e ใน 25 ปี
- โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 แห่ง : ลดก๊าซเรือนกระจก 4,600 tCO2e
- เปลี่ยนหลอดไฟ LEDศาลาว่าการกรุงเทพมหานครดินแดง: ลดก๊าซเรือนกระจก 312 tCO2e
3. การชดเชย (Offset)
- ปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น: ปัจจุบันปลูกปลูกไม้ยืนต้นได้ 252,263 ต้น (กุมภาพันธ์ 2567) หากโตเต็มที่จะสามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจก 6,000 tCO2e
- สำรวจข้อมูลต้นไม้ยืนต้น
- รับบริจาคคาร์บอนเครดิตจากภาคเอกชน