ในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคมของทุกปี กรุงเทพฯ มักจะต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศอยู่เสมอ เนื่องจากประชากรหนาแน่น ความคับคั่งของการจราจรและเขม่าควันดำจากท่อไอเสีย รวมถึงฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง การแก้ปัญหาต้องแก้ทุกอย่างไปพร้อม ๆ กัน

ฝุ่น PM 2.5 ใน กทม. มักมาจากแหล่งไหน?

ถอด 3 สูตรสู้ฝุ่น ในแบบฉบับของกรุงเทพมหานคร

🌟สูตรแก้ไขระยะเร่งด่วน – การตรวจวัดควันดำรถยนต์ งดการเผา ควบคุมพื้นที่ก่อสร้าง
🌟สูตรลดฝุ่นระยะยาว – บริการขนส่งสาธารณะแบบไร้รอยต่อ
🌟สูตรลดฝุ่นแบบยั่งยืน -เพิ่มพื้นที่สีเขียว

นอกจากการแก้ไข ตรวจเข้มกับควันดำรถยนต์ โรงงานที่ปล่อยควันที่ปล่องระบาย ขอความร่วมมืองดกิจกรรมก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่น และควบคุมไม่ให้มีการเผาขยะและเผาในที่โล่ง ที่เป็นสูตรแก้ไขปัญหาแบบเร่งด่วน เฉพาะกิจในระยะสั้นๆ แล้ว

“ล้อ – ราง – เรือ” คือ หนึ่งในสูตรการแก้ปัญหาระยะยาว ด้วยแนวทางให้บริการสาธารณะแบบไร้รอยต่อของกรุงเทพมหานคร กับเป้าหมายจะขยายโครงข่ายการบริการให้ได้ครอบคลุมและมากที่สุด รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงบริการขนส่งมวลชนสาธารณะได้ง่ายยิ่งขึ้น
▪ ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ
▪ ช่วยให้รถติดน้อยลง
▪ ลดจำนวนมลพิษที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ส่วนตัวให้ได้มากที่สุด

🌳 🌳🌳 ส่วนทางออกที่ยั่งยืน คือ กทม. มีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อไปให้ได้อย่างน้อยปีละ 550 ไร่ทุกปี เพื่อช่วยฟอกฝุ่น เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศธรรมชาติ ทางออกของหลายประเทศทั่วโลกในการแก้ปัญหาฝุ่น เพราะคุณภาพชีวิตที่ดี อากาศสะอาด ปลอดฝุ่นพิษ ของคนกรุงเทพฯ คือ เป้าหมายของกรุงเทพมหานคร

ขอบคุณข้อมูลและวิดีโอจากเพจ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

คุณชอบเนื้อหาหน้านี้ไหม?
ชอบไม่ชอบ