Skip to content
Greener Bangkok
เมนู
กลับสู่หน้าขยะและรีไซเคิล

อัพเดท

ขณะนี้เปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ลดค่าธรรมเนียมขยะล่วงหน้า บนแอป BKK WASTE PAY แล้ว ดูวิธีได้ที่นี่

โครงการบ้านนี้ไม่เทรวม แยกขยะเพื่อลดค่าธรรมเนียม

โครงการที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชน คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อจัดการขยะอย่างยั่งยืน และลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด สมัครง่ายได้สิทธิ์ลดค่าธรรมเนียมขยะ เริ่มลงทะเบียนผ่านแอป BKK WASTE PAY ได้ตั้งแต่ 14 มกราคม 2568 เป็นต้นไป โดยค่าธรรมเนียมใหม่ จะเริ่มบังคับใช้ ตุลาคม 2568

รายละเอียด
ค่าธรรมเนียมใหม่

จะเริ่มบังคับใช้ค่าธรรมเนียมใหม่ เดือนตุลาคม 2568

ขยะไม่เกิน วันละ 20 ลิตร / วัน

เช่น บ้านพักอาศัยทั่วไป

ค่าธรรมเนียมใหม่ (ตุลาคม 2568)

หากไม่แยกขยะ

60 บาท/เดือน

หากแยกขยะ & ลงทะเบียน

20 บาท/เดือน วิธีรับสิทธิ์ลดค่าธรรมเนียมขยะ

ขยะเกินวันละ 20 ลิตร (4 กก.)
แต่ไม่เกิน 1 ลบ.ม. / วัน

เช่น ร้านสะดวกซื้อ, ร้านอาหาร,
สถานประกอบการขนาดเล็ก

ค่าธรรมเนียมใหม่ (ตุลาคม 2568)

120 บาท/20 ลิตร

(ค่าเก็บขยะ 60 บาท +
ค่ากำจัดขยะ 60 บาท)

ขยะเกินวันละ 1 ลบ.ม. / วัน

เช่น ห้างสรรพสินค้า, ตลาด,
สถานประกอบการขนาดใหญ่

ค่าธรรมเนียมใหม่ (ตุลาคม 2568)

8,000 บาท/ลบ.ม.

(ค่าเก็บขยะ 3,250 บาท +
ค่ากำจัดขยะ 4,750 บาท)

ใครสามารถลงทะเบียน
แบบเดี่ยวล่วงหน้าได้

บ้านพักอาศัย
หมู่บ้านจัดสรร
(ไม่มีนิติบุคคล)
คอนโดมิเนียม/แฟลต
(ไม่มีนิติบุคคล)

กำหนดการ

14 ม.ค. 2568
เริ่มลงทะเบียน
  • ผ่านแอป BKK WASTE PAY
  • หรือแจ้ง สนง. เขต หากไม่สะดวก
สิงหาคม 2568 –
เริ่มส่งหลักฐานผ่านแอป

ส่งหลักฐานคัดแยกขยะได้ 3 ช่องทาง:

  • ตามแนวทาง สนง.เขต/กิจกรรมลงพื้นที่
  • ผ่านแอป BKK WASTE PAY
  • ผ่านเครือข่าย มือวิเศษกรุงเทพ ที่ได้รับอนุญาต
ตุลาคม 2568 –
บังคับใช้ค่าธรรมเนียมใหม
  • ตรวจหลักฐานก่อนอนุมัติสิทธิ์
  • อาจมีสุ่มตรวจขอหลักฐานเพิ่มเติม

วิธีลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อลดค่าธรรมเนียมขยะ

สามารถทำได้บนแอป BKK WASTE PAY เริ่มลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 14 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

2

เปิดแอปและกด
“สร้างบัญชีผู้ใช้งาน”
จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัว

  • ชื่อจริง - นามสกุล
  • รหัสประจำบ้าน (ดูได้จากเล่มทะเบียนบ้าน)
  • เบอร์ติดต่อ
  • อีเมล
  • เลขบัตรประชาชน
3

กรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบและ
กดถัดไป จากนั้นบนหน้าจอ
จะปรากฏข้อตกลง ความยินยอม
ในการเก็บรวบรวม และใช้ข้อมูล
ส่วนบุคคล อ่านและกดยินยอม

4

เมื่อเข้ามาที่หน้าหลัก
จะมีข้อความรายละเอียดเกี่ยวกับ
โครงการ “บ้านนี้ไม่เทร่วม”
สามารถกดกากบาท เพื่อปิดได้

5

เลือกความประสงค์สำหรับ
การคัดแยก / ไม่คัดแยกขยะ
และกด “ตกลง” เพื่อเป็นการยืนยัน

6

ปักหมุดที่อยู่บ้านของคุณให้ถูกต้อง
จากนั้นจะขึ้นรายการสรุปเพื่อ
เป็นการยืนยันความถูกต้อง
และกด “ตกลง”

7

สามารถเลือกเข้าไปดูข้อมูลต่าง ๆ
ได้ที่ “บ้านของฉัน”

  • รายการใบแจ้งหนี้
  • ประวัติการชำระ
  • ข้อมูลบ้าน
  • แก้ไขตำแหน่งบ้าน
  • ลบข้อมูลบ้าน
ขั้นก่อนหน้า
ขั้นต่อไป
1

กรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบและ
กดถัดไป จากนั้นบนหน้าจอ
จะปรากฏข้อตกลง ความยินยอม
ในการเก็บรวบรวม และใช้ข้อมูล
ส่วนบุคคล อ่านและกดยินยอม

2

เมื่อเข้ามาที่หน้าหลัก
จะมีข้อความรายละเอียดเกี่ยวกับ
โครงการ “บ้านนี้ไม่เทร่วม”
สามารถกดกากบาท เพื่อปิดได้

3

เลือกความประสงค์สำหรับ
การคัดแยก / ไม่คัดแยกขยะ
และกด “ตกลง” เพื่อเป็นการยืนยัน

4

ปักหมุดที่อยู่บ้านของคุณให้ถูกต้อง
จากนั้นจะขึ้นรายการสรุปเพื่อ
เป็นการยืนยันความถูกต้อง
และกด “ตกลง”

5

สามารถเลือกเข้าไปดูข้อมูลต่าง ๆ
ได้ที่ “บ้านของฉัน”

  • รายการใบแจ้งหนี้
  • ประวัติการชำระ
  • ข้อมูลบ้าน
  • แก้ไขตำแหน่งบ้าน
  • ลบข้อมูลบ้าน
ขั้นก่อนหน้า
ขั้นต่อไป

วิธีแยกขยะตาม
โครงการบ้านนี้ไม่เทรวม

การแยกขยะอย่างถูกต้องช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มโอกาสในการนำกลับมาใช้ใหม่ ขยะหลัก ๆ แบ่งเป็น ขยะเศษอาหาร (ใส่ถุงสีเขียว/ถังสีเขียว หรือส่งทำปุ๋ยและอาหารสัตว์), ขยะรีไซเคิล (เช่น ขวดพลาสติก, กระดาษ แยกทิ้งตามจุดรับหรือฝากกับรถขยะ กทม.), ขยะอันตราย (เช่น ถ่านไฟฉาย, หลอดไฟ ควรทิ้งในถังสีส้มหรือกิจกรรมรับขยะอันตรายในชุมชน), และ ขยะทั่วไป (เช่น ซองขนม, ถุงพลาสติก ทิ้งในถังสีฟ้า).

ขยะแต่ละชนิดควรทิ้งอย่างไร

ตัวอย่างภาพ
หลักฐานการคัดแยกขยะ

ขยะเศษอาหาร
ขยะทั่วไป
ขยะอันตราย
ขยะรีไซเคิล

วิธีการชําระค่าธรรมเนียมขยะ

คุณสามารถชำระค่าธรรมเนียมขยะบนแอป BKK Waste Pay ได้ง่ายๆ ผ่าน QR Code

1

ไปที่ “บ้านของฉัน”
กดที่ลูกศรเลือกรหัสบ้านที่
ต้องการชำระ และเลือก
“รายการใบแจ้งหนี้”

2

จะปรากฏเดือนที่ยังไม่ได้ชำระ
เลือกเดือนที่ต้องการชำระ
จากนั้นเลือกวิธีการชำระ โดย

แสดงใบแจ้งหนี้

  • สำหรับการนำไปชำระที่เคาน์เตอร์ธนาครกรุงไทย
  • หรือสแกนจ่ายผ่าน Mobile Banking

ชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด

  • สำหรับการสแกนจ่าย
3

ตัวอย่างสำหรับการชำระ
ในรูปแบบต่าง ๆ

ขั้นก่อนหน้า
ขั้นต่อไป
1

ไปที่ “บ้านของฉัน” และ
กดประวัติการชำระ
บนแอป BKK WASTE PAY

2

บนหน้าแอปจะปรากฏรายการ
ที่ได้รับการชำระและ เลือกรายการ
ที่ต้องการดูประวัติ และ
กด “แสดงใบเสร็จชำระเงิน”

ขั้นก่อนหน้า
ขั้นต่อไป

ลงทะเบียนล่วงหน้า ได้แล้ววันนี้

มีบ้านลงทะเบียนแล้ว

19,880หลัง

คำถามที่พบบ่อย

1. ทำไม กทม. ต้องปรับค่าธรรมเนียมขยะใหม่?

  • เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนการจัดการขยะที่เพิ่มขึ้น
  • กระตุ้นให้ประชาชนช่วยกัน ลดและคัดแยกขยะ
  • ใช้ระบบ "จ่ายตามปริมาณขยะที่ทิ้ง" (Pay-As-You-Throw หรือ PAYT)

2. อัตราค่าธรรมเนียมใหม่เป็นอย่างไร?

  • กลุ่มที่ 1: ขยะ ≤ 20 ลิตร/วัน
    • ไม่คัดแยกขยะ → จ่าย 60 บาท/เดือน
    • คัดแยกขยะ → จ่าย 20 บาท/เดือน
  • กลุ่มที่ 2: ขยะ 20 ลิตร - 1 ลูกบาศก์เมตร/วัน → 120 บาท/เดือน/20 ลิตร
  • กลุ่มที่ 3: ขยะ > 1 ลูกบาศก์เมตร/วัน → 8,000 บาท/เดือน/ลูกบาศก์เมตร

3. จะลดค่าธรรมเนียมขยะได้อย่างไร?

  • ลงทะเบียนผ่าน แอป BKK Waste Pay หรือสำนักงานเขต
  • ส่งหลักฐาน คัดแยกขยะ 4 ประเภท (อินทรีย์, รีไซเคิล, อันตราย, ทั่วไป)
  • สุ่มตรวจทุก 3 เดือน หากไม่ผ่าน 2 ครั้งติด ต้องจ่าย 60 บาทตามปกติ

4. วิธีคำนวณปริมาณขยะทำอย่างไร?

  • 0.2 กิโลกรัม = 1 ลิตร
  • คำนวณจากจำนวนถังขยะ หรือให้สำนักงานเขตช่วยประเมิน

5. ลงทะเบียนแบบเดี่ยวและแบบกลุ่มต่างกันอย่างไร?

  • แบบเดี่ยว: บ้านพักอาศัยทั่วไป ลงทะเบียนรายบุคคล
  • แบบกลุ่ม: หมู่บ้านจัดสรร, คอนโด, ชุมชน ลงทะเบียนรวมกัน

6. กทม. จะให้บริการอะไรเพิ่มเติมจากการขึ้นค่าธรรมเนียม?

  • เพิ่มรถเก็บขยะเศษอาหาร & ขยะอันตราย
  • จัดเก็บขยะทั่วไปอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • ให้ข้อมูลประชาชนเรื่องการแยกขยะอย่างถูกต้อง

7. ขยะเศษอาหารที่แยกแล้วนำไปทำอะไร?

  • ทำ ปุ๋ยหมัก
  • ผลิต ก๊าซชีวภาพ
  • แปรรูปเป็น อาหารสัตว์

8. ขยะชิ้นใหญ่ (เฟอร์นิเจอร์, ที่นอน) ทิ้งได้ที่ไหน?

  • มีบริการเก็บขยะชิ้นใหญ่ ฟรี ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
  • นำไปทิ้งตาม จุดที่สำนักงานเขตกำหนด

9. ถ้าจ่ายผ่านนิติบุคคล ต้องทำอย่างไร

ให้รอ นิติบุคคล ขอคำแนะนำจาก สำนักงานเขต เพื่อตกลงขั้นตอนการลงทะเบียน ส่งหลักฐานและรับสิทธิ์ แต่ให้เก็บหลักฐานการแยกขยะไว้ก่อนได้

10. ส่งหลักฐานผ่าน ภาคีมือวิเศษกรุงเทพ ได้อย่างไร?

ตรวจสอบรายชื่อภาคีมือวิเศษที่ได้รับอนุญาต จาก สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เช่น แพลตฟอร์มซื้อขายขยะรีไซเคิล / จุดรับบริจาคขยะโครงการต่างๆ

11. กทม รู้ได้อย่างไรว่า บ้านไหนแยกขยะจริง ?

  • ระบบรับหลักฐานภาพถ่าย ใน BKK Waste Pay (หลัง ส.ค. 68)
  • เก็บหลักฐานขณะลงพื้นที่โดย เจ้าหน้าที่ กทม
  • ใช้หลักฐานการขายขยะหรือบริจาคขยะให้โครงการต่างๆ ของภาคีมือวิเศษกรุงเทพ
BKK Waste Pay จะตรวจหลักฐานและเป็นผู้อนุมัติสิทธิ์ลดค่าธรรมเนียม