Skip to content
Greener Bangkok
เมนู
กลับสู่หน้าขยะและรีไซเคิล

คู่มือทิ้งขยะสำหรับ
อาคารสูง/ห้างสรรพสินค้า

การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับอาคารสูง/ห้างสรรพสินค้า
เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแนวทางการจัดการขยะดังนี้

ทำไมการจัดการขยะจึงสำคัญ

  • ลดต้นทุน: ช่วยลดค่าธรรมเนียมการเก็บขยะ ค่าใช้จ่ายในการกำจัด และเพิ่มผลกำไร
  • ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร: แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ดึงดูดผู้เช่าและพนักงานที่มีคุณภาพ
  • เพิ่มความยั่งยืน: ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • สร้างความประทับใจ: แสดงถึงความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมต่อลูกค้าและผู้มาใช้บริการ

แนวทางการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ

1. กำหนดนโยบาย

  • กำหนดและออกนโยบายด้านการจัดการขยะ
  • คัดแยกขยะตามหลัก 3Rs

2. จัดเตรียมถังขยะ

  • แยกประเภทถังขยะให้ชัดเจน พร้อมป้ายบอกประเภทขยะ
  • วางถังขยะในจุดที่สะดวกต่อการใช้งาน
  • ทำความสะอาดถังขยะอย่างสม่ำเสมอ

3. ส่งเสริมผู้ขาย

  • สนับสนุนผู้ขายในอาคาร/ห้างสรรพสินค้าใช้บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้
  • รณรงค์ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการรีไซเคิล

4. สื่อสารสร้างจิตสำนึก

  • อบรมบุคลากรเกี่ยวกับวิธีการคัดแยกขยะ
  • จัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ
  • ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ของห้างสรรพสินค้า

5. เน้นการใช้ประโยชน์จากขยะ

  • ลดปริมาณขยะเหลือส่งกําจัดให้น้อยที่สุด
  • คัดแยกสิ่งของเหลือใช้ก่อนทิ้ง เช่น ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย
  • นำขยะรีไซเคิลไปขายหรือบริจาค
  • นำขยะอินทรีย์ไปทำปุ๋ยหมัก

6. จัดเก็บรวบรวมขยะ

  • คัดแยกขยะตามประเภท เก็บขยะอย่างถูกสุขลักษณะ
  • เก็บขยะไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม ป้องกันไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็นหรือสร้างมลพิษ

7. พัฒนาระบบ

  • พัฒนาระบบการจัดการสภาพแวดล้อมและบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  • ติดตามประเมินผลการจัดการขยะ
  • พัฒนาและแก้ไขระบบอยู่เสมอ

ขยะแต่ละประเภท
ควรทิ้งอย่างไร

ขยะเศษอาหาร

วิธีทิ้ง

  1. เทน้ำ กรองเฉพาะเศษอาหาร
  2. นำไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำน้ำหมักชีวิภาพ ปุ๋ยหมักหรือเป็นอาหารสัตว์
  3. ใส่ถุงเขียว หรือถุงที่มองเห็นขยะด้านใน มัดปากถุง แล้วใส่ถัง
  4. รอการจัดเก็บตามที่สำนักงานเขตกำหนด

ขยะรีไซเคิล

วิธีทิ้ง

  1. เทของเหลวหรือเศษอาหาร (ถ้ามี)
  2. รวบรวมใส่ถุงใส หรือ ถุงที่มองเห็นขยะด้านใน
  3. มัดปากถุงหากใส่ถุงดำให้เขียนข้อความหรือติดป้ายหรือสัญลักษณ์ที่ระบุว่าเป็น “ขยะรีไซเคิล”
  4. นำไปขายหรือบริจาคหรือรอการจัดเก็บตามที่สำนักงานเขตกำหนด

ขยะอันตราย

วิธีทิ้ง

  1. รวบรวมใส่ถุงใสหรือถุงที่มองเห็นขยะด้านใน
  2. หากใส่ถุงดำให้เขียนข้อความหรือติดป้ายหรือสัญลักษณ์ที่ระบุว่าเป็น ขยะอันตราย
  3. ทิ้งตามจุดที่กำหนดหรือรอการจัดเก็บตามที่สำนักงานเขตกำหนด

ขยะทั่วไป

วิธีทิ้ง

  1. รวบรวมใส่ ถุงใส หรือ ถุงที่มองเห็นขยะด้านใน มัดปากถุง
  2. รอการจัดเก็บตามที่สำนักงานเขตกำหนด

โปสเตอร์ฮาวทูทิ้ง

วิธีการแยกขยะ ในกรุงเทพมหานคร

เอกสารดาวน์โหลด

คู่มืออาคารสำนักงานปลอดขยะ (Zero waste building)

ดาวน์โหลด

3 แนวทางง่ายๆ

แนวคิด 3R ช่วยให้เราใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดปริมาณขยะ

1. Reduce ลดการใช้ การบริโภคที่ไม่จำเป็น

  • งดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • ส่งเสริมการใช้ถุงผ้าและภาชนะส่วนตัว
  • จำหน่ายสินค้าแบบ Refill
  • เสนอขายสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์น้อยที่สุด
  • สนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้หรือรีไซเคิลได้

2. Reuse นำกลับมาใช้ซ้ำ

  • เสนอขายสินค้ามือสอง
  • เสนอบริการซ่อมแซมสินค้า
  • เสนอบริการเช่าสินค้า
  • นำวัสดุเหลือใช้จากงานตกแต่งมาใช้ใหม่
  • บริจาคเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เก่าให้กับองค์กรการกุศล

3. Recycle นำกลับมาใช้ใหม่

  • ติดตั้งจุดคัดแยกขยะอย่างชัดเจน
  • เสนอบริการรีไซเคิล
  • ทำงานร่วมกับบริษัทจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ
  • แปลงขยะเป็นพลังงาน

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

วิธีการทิ้งขยะ
บ้านและคอนโด

แนวทางในการคัดแยกและทิ้งขยะอย่างถูกต้องสำหรับผู้พักอาศัยในบ้านและคอนโด

วิธีการทิ้งขยะ
สำหรับตลาด

วิธีการทิ้งขยะ
สำหรับออฟฟิศ

คุณชอบเนื้อหาหน้านี้ไหม?
ชอบไม่ชอบ